Live Chat Software by Kayako
คลังความรู้
ตัวอย่างเอกสารสำหรับการจดโดเน Dot TH
เขียนโดย on 23 December 2013 10:56

ตัวอย่างเอกสารสำหรับการจดโดเน Dot TH

Domain .ac.th

.ac.th : สำหรับสถานศึกษา ที่ได้รับประกาศรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่า

เอกสาร : หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา

กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งได้ สามารถออกหนังสือรับรองซึ่งระบุใจความดังนี้

- หน่วยงานที่สังกัด
- ที่ตั้งของสถานศึกษา
- คำรับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมน
- ลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการ หรือผู้มีอำนาจลงนามของสถานศึกษานั้น ๆ พร้อมประทับตราสำคัญ
หมายเหตุ กรณีที่เป็นสถานศึกษาประเภทกวดวิชา จะต้องแสดงใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเท่านั้น
ตัวอย่าง หนังสือรับรองการจดทะเบียนชื่อโดเมน [Thai] [English]
ตัวอย่าง หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา [Thai] [English]

 

 

Domain .co.th

.co.th : สำหรับนิติบุคคลทางธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือ ผู้ถือครองเครื่องหมายการค้า/บริการ

เอกสาร : สามารถพิจารณาได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1. จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากชื่อองค์กร

• ชื่อโดเมนจำเป็นต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อองค์กรได้ (ไม่สามารถเพิ่มตัวอักษร)
• ชื่อองค์กร 1 ชื่อ สามารถใช้อ้างอิงเพื่อจดทะเบียนชื่อโดเมนได้เพียง 1 ชื่อ เท่านั้น

หมายเหตุ กรณีไม่ใช่นิติบุคคล แต่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถจดทะเบียน .co.th ได้ โดยยื่นเอกสาร ภ.พ.20

1. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
a. หนังสือรับรองนิติบุคคล หรือ เอกสาร ท.ค.0401 หรือ พ.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2. นิติบุคคลต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
a. หนังสือรับรองนิติบุคคลต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
b. หนังสือรับรองนิติบุคคลตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
c. หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้
• รับรองว่านิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
• รับรองการอนุญาตใช้ชื่อนิติบุคคลต่างประเทศในการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดยระบุชื่อโดเมนอย่างชัดเจน

กรณีที่ 2. จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วม

• ชื่อโดเมนจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมทุกตัวอักษร
• หน่วยงาน/บุคคล ที่มีเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมาย ร่วมมากกว่า 1 ตัว สามารถจดชื่อโดเมน .co.th ได้ตามจำนวนเครื่องหมายนั้น
1. เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนในประเทศไทย
a. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่อง หมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วม ที่ได้จดทะเบียนและออกให้โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
2. เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมที่ จดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
a. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่อง หมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
b. หนังสือรับรองนิติบุคคลตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
c. หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้
• รับรองนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นตัวแทน
• รับรองการอนุญาตใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมาย รับรอง/เครื่องหมายร่วมต่างประเทศในการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดยระบุชื่อโดเมนอย่างชัดเจน
 ตัวอย่าง หนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัทจำกัดมหาชน
 ตัวอย่าง ใบ ภ.พ.01 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) [ Thai ] [ English ]
(ใช้สำหรับยืนยันชื่อภาษาอังกฤษของบริษัท และต้องมีการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
 ตัวอย่าง ใบ ภ.พ.09 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) [ Thai ] [ English ]
(ใช้สำหรับแสดงการเปลี่ยนแปลงชื่อของบริษัทเท่านั้น)
 ตัวอย่าง ใบ ภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) [ Thai ] [ Eng ]
 ตัวอย่าง หนังสือบริคณห์สนธิ [ Thai ] [ Eng ]
(ใช้สำหรับยืนยันชื่อภาษาอังกฤษของบริษัท และต้องมีการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
 ตัวอย่าง หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ [ Thai ] [ English ]
 ตัวอย่าง หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า [ Thai ] [ English ]
 ตัวอย่าง หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม [ Thai ] [ English ]
 ตัวอย่าง หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง [ Thai ] [ English ]

 ตัวอย่าง จดหมายมอบอำนาจให้ใช้ชื่อบริษัทต่างประเทศจดทะเบียนชื่อโดเมน

[ Tha ] [ English ]
 ตัวอย่าง จดหมายมอบอำนาจให้ใช้เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายการ ค้าร่วม/เครื่องหมายรับรองต่างประเทศจดทะเบียนชื่อโดเมน
[ Tha ] [ English ]
 
 
 

Domain .go.th

.go.th : สำหรับส่วนราชการ และโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐ

นโยบาย เพิ่มเติม : ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้องกับ "หลักการตั้งชื่อโดเมน" และหากจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้โครงการ ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้องกับชื่อโครงการนั้น ๆ

เอกสาร :

1. หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมนถึงผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับ สูงของหน่วยงานต้นสังกัด (CIO : Chief Information Officer) หรือ

2. หนังสือรับรองการใช้ชื่อโดเมนของหน่วยงานซึ่งออกโดย CIO ของหน่วยงานต้นสังกัด

กรณีที่เป็นโครงการ จะต้องแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย
- รายนามคณะกรรมการ
- วัตถุประสงค์ของโครงการ
- วันสิ้นสุดของโครงการ
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ
 มติการประชุมคณะรัฐมนตรี [ Thai ] [ Eng ]
 ตัวอย่าง เอกสารออกโดย CIO [ Thai ] [ Eng ]
 ตัวอย่าง เอกสารจากหน่วยงานถึง CIO [ Thai ] [ Eng ]
 
 

Domain .mi.th

.mi.th : สำหรับหน่วยงานทางทหาร

เอกสาร : หนังสือรับรองจาก กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย อนุญาตให้หน่วยงาน/องค์กรภายใต้การกำกับของ กองบัญชาการกองทัพไทย จดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .mi.th ได้
 
 
 

Domain .in.th

.in.th : สำหรับองค์กร หรือ บุคคล (รายละเอียด เพิ่มกรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี)

นโยบายเพิ่มเติม :

- สามารถจดทะเบียนได้ไม่จำกัดจำนวน
- ชื่อโดเมนสามารถตั้งได้โดยอิสระ ภายใต้ "หลักการตั้งชื่อโดเมน" (เฉพาะข้อ 1-2,4-5)
- เครื่องหมายการค้าต่างประเทศสามารถขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .in.thเพื่อปกป้องสิทธิ์ โดยชื่อโดเมนจะต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าทุกตัวอักษร แต่จะไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งนี้มีค่าธรรมเนียมรายปี เช่นเดียวกับชื่อโดเมนที่มีการใช้งานปกติ

เอกสาร : สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี

กรณีที่ 1. สำหรับองค์กร

- เอกสารแสดงการจัดตั้งองค์กร หรือ
- หนังสือรับรองการขอจดทะเบียน โดยระบุชื่อโดเมนและผู้ถือครอง

กรณีที่ 2. สำหรับบุคคลทั่วไป

- บัตรประชาชน, บัตรประจำตัวข้าราชการ
- ใบขับขี่
- หนังสือเดินทางที่ออกโดยราชอาณาจักรไทย
- ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (work permit)

กรณี ผู้ถือครองอายุต่ำกว่า 15 ปี จะต้องขอจดทะเบียนชื่อโดเมนในนามของผู้ปกครองและสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ถือ ครองได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์แล้ว

 ตัวอย่างเอกสาร PDF (สำหรับบุคคลทั่วไป)
 
 
 

Domain .or.th

.or.th : สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน

เช่น สมาคม มูลนิธิ สภาวิชาชีพ ศาสนสถาน องค์การมหาชนอิสระ สหกรณ์ พรรคการเมือง สถานฑูต หอการค้า ชมรม หรือ โครงการเพื่อสังคม เป็นต้น

เอกสาร : หนังสือจัดตั้งองค์กรที่รับรองโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น

กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรข้างต้น จะต้องแสดงหนังสือ 2 ฉบับ ได้แก่
1. หนังสือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กร ดังนี้
- รายนามคณะกรรมการ
- วัตถุประสงค์
- ที่อยู่
- สำหรับโครงการ ให้ระบุวันสิ้นสุดของโครงการ
2. หนังสือรับรองจากองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐ รับรองว่า มีหน่วยงานดังกล่าวอยู่จริง
(1 โหวต)
บทความนี้มีประโยชน์
บทความนี้ไม่มีประโยชน์

คำติชม (0)
Help Desk Software by Kayako Fusion